วิสัยทัศน์
"บ้านเมืองน่าอยู่ เชิดชูคนดี ส่งเสริมประเพณีและศาสนา
การศึกษาก้าวไกล"
ยุทธศาสตร์การพัฒนา
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านการคมนาคมสะดวก
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านประชาชนมีคุณภาพ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านบริหารจัดการ
แนวทางการพัฒนาท้องถิ่น
ยุทธศาสตร์ที่ 1 ด้านการคมนาคมสะดวก
ประกอบด้วยแนวทางการพัฒนาท้องถิ่น ดังนี้
1.1 การพัฒนาเส้นทางคมนาคมเชื่อมโยงเป็นระบบเพื่อรองรับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยการก่อ สร้าง ปรับปรุง บำรุงรักษาถนน สะพาน ทางเท้า ท่อระบายน้ำ และจัดระบบการคมนาคมให้เป็นระเบียบ ปลอดภัย เช่น ป้ายบอกเส้นทาง ไหล่ทาง สัญญาณไฟบริเวณทางแยกต่างๆ และย่านชุมชน
ยุทธศาสตร์ที่ 2 ด้านประชาชนมีคุณภาพ
ประกอบด้วยแนวทางการพัฒนาท้องถิ่น ดังนี้
2.1 การพัฒนาด้านความปลอดภัยและคุณภาพชีวิต
- การพัฒนาด้านการศึกษา การสาธารณสุข การจัดให้มีความมั่นคงปลอดภัย ปลอดจากยาเสพติด ปลอดผู้มีอิทธิพล อนุรักษ์ประเพณี วัฒนธรรม ศาสนา เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมด้านการกีฬาและนันทนาการ
2.2 การพัฒนาด้านการแก้ไขปัญหาความยากจนและกระจายรายได้
- การเพิ่มรายได้ ลดรายจ่าย พัฒนาทักษะฝีมือ ส่งเสริมการประกอบอาชีพที่ยั่งยืนและมีรายได้ที่มั่นคง พัฒนาและสนับสนุนสวัสดิการเด็ก เยาวชน สตรี คนชรา และผู้ด้อยโอกาส
2.3 การพัฒนาด้านการบริการพื้นฐาน
- การพัฒนาและจัดหาแหล่งน้ำเพื่ออุปโภค บริโภค การปรับปรุงภูมิทัศน์สถานที่
ราชการ สถานที่ท่องเที่ยว อาคาร บ้านเรือน สนามกีฬา สวนสาธารณะ การป้องกันและบรรเทา
สาธารณภัย มีการบริการพื้นฐานที่สะดวกและเพียงพอ
ยุทธศาสตร์ที่ 3 ด้านการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ
ประกอบด้วยแนวท างการพัฒนาท้องถิ่น ดังนี้
3.1 การพัฒนาด้านการเกษตร
- การส่งเสริมการเกษตรปลอดสารพิษ ส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพร การพัฒนาคุณภาพดิน การพัฒนาบุคลากรทางการเกษตร การพัฒนาคุณภาพสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ เกษตรกรรมครบวงจรตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมให้มีตลาดเพื่อเป็นศูนย์การในการจำหน่ายสินค้าการเกษตร จัดตั้งสถานบันวิจัยด้านการเกษตร
3.2 ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- การพัฒนาและบริหารจัดการแหล่งน้ำธรรมชาติ คู คลอง หนอง บึง แหล่งน้ำชลประทานให้สามารถเก็บกักน้ำได้ตลอดปี
3.3 พัฒนา/ส่งเสริมการท่องเที่ยว ประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว ปรับปรุงและพัฒนาสถานที่ท่องเที่ยว ฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เช่น ป่าไม้ แหล่งน้ำธรรมชาติ ฯลฯ
ยุทธศาสตร์ที่ 4 ด้านการพัฒนาการบริหารจัดการ
ประกอบด้วยแนวทางการพัฒนาท้องถิ่น ดังนี้
4.1 การพัฒนาบุคลากร ปรับปรุงเครื่องมือ – เครื่องใช้ และสถานที่ปฏิบัติราชการ การบริหารจัดการด้านงบประมาณให้มีประสิทธิภาพ รณรงค์ให้เยาวชนและประชาชนตื่นตัวถึงความสำคัญของการปกครองระบอบประชาธิปไตย มีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ / ความต้องการ การแก้ปัญหา ประเมินผล / ตรวจสอบได้